เลเยอร์คือ การแบ่งชั้นของวัตถุใน Autocad เพื่อให้ง่ายในการเปลี่ยนแปลง แก้ไขวัตถุนั้น
และการกำหนดเส้นหรือวัตถุให้อยู่เลเยอร์ใดๆนั้น "ควรจัดให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน" หรือมีลักษณะ เส้น สี หรือ สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน ไม่ควรสร้างเลเยอร์มากเกินไป เพราะจะทำให้เราจำไม่ได้
และสับสน ในแผ่นงาน 1แผ่นหรือ 1ไฟล์ควรมีเลเยอร์ตั้ง 10-20 เท่านั้น ไม่ควรมากกว่านี้ และการตั้งชื่อเลเยอร์ไม่ควรตั้งชื่อยาวเกินไป ให้สั้น กระชับ เข้าใจได้ เช่น
เลเยอร์ที่เป็นเป็นงานสถาปัตฯเราควรใช้ชื่อว่า Tect แทนที่จะใช้คำว่า Architecture ซึ่งยาวเกินไป เป็นต้น
แถบเครื่องมือการควบคุมเลเยอร์มีอยู่ในแถบเครื่องดั่งเดิมของ Autocad แบบ classic อยู่แล้ว ถ้าไม่มีให้เรียกแถบเครื่องมือควบคุมเลเยอร์ออกมาโดย คลิ๊กขวาที่แถบเครื่องมือและจะมีถาดเครื่องมือเลื่อนอกมา ให้เราคลิ๊กเลือกที่ Layer และ Layer II ออกมา
มาดูความสามารถของเครื่องมือควบคุมเลเยอร์นี้ดูว่ามีอะไรบ้างครับ ตามรูปด้านล่าง
เมื่อทราบถึงฟังชั่นต่างๆของ Layer manager แล้วเราสามารถที่จะใช้ให้เป็นไปตามความต้องการ เพิ่มความเร็ว ในการเขียนแบบ Autocad และการสร้างหรือแก้ไขเลเยอร์นั้นสามารถเรียกเครื่องมือได้โดยการกดปุ่มที่1 Layer properties manager
หรือใช้คีย์ลัดโดยการพิมพ์ la>>enter หรือไปที่แถบเมนู Format>>layer ก็จะปรากฏหน้าต่างการจัดการ สร้าง แก้ไข หรือแม้แต่ลบเลเยอร์
อย่าลืมนะครับว่า Autocad เป็นเพียงเครื่องมือที่เข้ามาช่วยในการเขียนแบบรวดเร็ว และสะดวกมากขึ้น ถ้าหากมันทำให้การเขียนแบบช้าลงมันคงไม่ถูกวัตถุประสงค์ อย่าเพิ่งเครียดกับการหัดใช้เครื่องมือต่างๆ ค่อยๆเรียนรู้ไปทีละอย่างนะครับ
Autocad มีฟังชั่นให้ใช้เยอะการสร้างเส้นหรือแก้ไข อาจมีหลายวิธีที่สามารถสร้างวัตถุให้เหมือนกันได้ และขอบอกที่ทริคหนึ่งเกี่ยวกับเลเยอร์ที่คุณอาจไม่รู้คือ
และการกำหนดเส้นหรือวัตถุให้อยู่เลเยอร์ใดๆนั้น "ควรจัดให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน" หรือมีลักษณะ เส้น สี หรือ สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน ไม่ควรสร้างเลเยอร์มากเกินไป เพราะจะทำให้เราจำไม่ได้
และสับสน ในแผ่นงาน 1แผ่นหรือ 1ไฟล์ควรมีเลเยอร์ตั้ง 10-20 เท่านั้น ไม่ควรมากกว่านี้ และการตั้งชื่อเลเยอร์ไม่ควรตั้งชื่อยาวเกินไป ให้สั้น กระชับ เข้าใจได้ เช่น
เลเยอร์ที่เป็นเป็นงานสถาปัตฯเราควรใช้ชื่อว่า Tect แทนที่จะใช้คำว่า Architecture ซึ่งยาวเกินไป เป็นต้น
แถบเครื่องมือการควบคุมเลเยอร์มีอยู่ในแถบเครื่องดั่งเดิมของ Autocad แบบ classic อยู่แล้ว ถ้าไม่มีให้เรียกแถบเครื่องมือควบคุมเลเยอร์ออกมาโดย คลิ๊กขวาที่แถบเครื่องมือและจะมีถาดเครื่องมือเลื่อนอกมา ให้เราคลิ๊กเลือกที่ Layer และ Layer II ออกมา
มาดูความสามารถของเครื่องมือควบคุมเลเยอร์นี้ดูว่ามีอะไรบ้างครับ ตามรูปด้านล่าง
- Layer properties manager ปุ่มควบคุมและจัดการเลเอยร์ทั้งหมด สร้าง แก้ไข จัดการคุณสมบัติ หรือแม้แต่ ลบเลเอยร์นั้นนั้นทิ้งไป เมื่อไม่ได้ใช้
- Turn a layer ON-OFF ปุ่มเปิดเลเยอร์ เมื่อเปิดปุ่มนี้จะสว่างเป็นสีขาว หากปิดปุ่มนี้จะเป็นสีเทา
- Freeze all layer ปุ่มตรึงเลเยอร์ทั้งมุมมองใน model และ layout
- Freeze layer ปุ่มตรึงเลเยอร์ให้อยู่กับที่ สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ แต่ไม่สามารถย้ายตำแหน่งได้จนกว่าจะปิดปุ่ม Freeze layer ออกเสียก่อน
- Lock layer ปุ่มล๊อคและปลดล๊อคเลเยอร์ ไม่สามารแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือย้ายไปไหนได้ ต้องกดปุ่มปลดล๊อคเสียก่อน
- Colour ปุ่มแสดงสีของเลเยอร์นั้นๆ
- Make object's layer current ปุ่มเลือกเส้น หรือวัตถุใดๆให้เป็นเลเยอร์ปัจจุบัน
- Layer previos ปุ่มย้อนกลับไปใช้เลเยอร์เดิม
- Name คือ ชื่อของเลเยอร์นั้นๆ (อันนี้อยากบอกจริงๆ)
เมื่อทราบถึงฟังชั่นต่างๆของ Layer manager แล้วเราสามารถที่จะใช้ให้เป็นไปตามความต้องการ เพิ่มความเร็ว ในการเขียนแบบ Autocad และการสร้างหรือแก้ไขเลเยอร์นั้นสามารถเรียกเครื่องมือได้โดยการกดปุ่มที่1 Layer properties manager
หรือใช้คีย์ลัดโดยการพิมพ์ la>>enter หรือไปที่แถบเมนู Format>>layer ก็จะปรากฏหน้าต่างการจัดการ สร้าง แก้ไข หรือแม้แต่ลบเลเยอร์
อย่าลืมนะครับว่า Autocad เป็นเพียงเครื่องมือที่เข้ามาช่วยในการเขียนแบบรวดเร็ว และสะดวกมากขึ้น ถ้าหากมันทำให้การเขียนแบบช้าลงมันคงไม่ถูกวัตถุประสงค์ อย่าเพิ่งเครียดกับการหัดใช้เครื่องมือต่างๆ ค่อยๆเรียนรู้ไปทีละอย่างนะครับ
Autocad มีฟังชั่นให้ใช้เยอะการสร้างเส้นหรือแก้ไข อาจมีหลายวิธีที่สามารถสร้างวัตถุให้เหมือนกันได้ และขอบอกที่ทริคหนึ่งเกี่ยวกับเลเยอร์ที่คุณอาจไม่รู้คือ
เลเยอร์ Defpoints ไม่สามารถลบได้ และเมื่อวัตถุหรือเส้นใดๆที่อยู่ในเลเยอร์นี้เมื่อสั่งพิมพ์ออกมา จะไม่เห็นเส้นหรือวัตถุนั้น